ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชื่อวิชา วิทยาศาสตร์                                                                    
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ระดับชั้นปี ประถมศึกษาปีที่ 5

1.มาตรฐานการเรียนรู้

มาตราฐาน ว 1.1 เข้าใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งไม่มีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และความ สัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงาน การเปลี่ยนแปลงแทนที่ในระบบนิเวศ ความหมายของประชากร ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

2. ตัวชี้วัดชั้นปี

ว 1.1 ป. 5/3 เขียนโซ่อาหารและระบุบทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคในโซ่อาหาร

3. สาระสำคัญ

  • ในแหล่งที่อยู่หนึ่งๆ สิ่งมีชีวิตจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิต เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต เช่น ความสัมพันธ์กันด้านการกินกันเป็นอาหาร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หลบภัยและเลี้ยงดูลูกอ่อน  ใช้อากาศในการหายใจ
  • สิ่งมีชีวิตมีการกินกันเป็นอาหาร โดยกินต่อกันเป็นทอดๆ ในรูปแบบของโซ่อาหาร ทำให้สามารถระบุบทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภค

5. สื่อการเรียนรู้

  • อุปกรณ์เล่นเส้น

6. กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

  1. คุณครูอธิบายเนื้อหาให้กับนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อกัน ยกตัวอย่างความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 1 ชนิด (ต้นข้าว) พร้อมอธิบายลักษณะและความสัมพันธ์เรื่องห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ

ขั้นสอน

  1. คุณครูสอนนักเรียนเขียนห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต หรือสัตว์ชนิดต่าง (เช่น เสือ สิงโต ) พร้อมอธิบายขั้นตอนในการเชียนห่วงโซ่อาหาร
  2. คุณครูให้เวลานักเรียนวาดห่วงโซ่อาหารของสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตที่คุณครูกำหนดให้

ขั้นสรุป

  1. คุณครูสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและห่วงโซ่อาหารอีกครั้ง เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนมากยิ่งขึ้น
  2. คุณครูตรวจสอบความถูกต้องของห่วงโซ่อาหารที่นักเรียนวาด พร้อมช่วยอธิบายและแก้ไขให้ถูกต้องในกรณีที่มีส่วนที่ผิด

7. ประเมินผลการเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้เกณฑ์การประเมินผลผลการประเมิน
1. สังเกตและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่นักเรียนสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่